27/2/56

ทำไมต้องสอนวิชาเพศศึกษา

นายยแพทย์สุรพงศ์  อำพันวงษ์ จากรายการปัญหาชีวิตและสุขภาพ นำเสนอเรื่องวัยรุ่นกับเพสัมพันธ์ทำให้สังคมตระหนักชัดว่า สังคมประเทศไทยนี้มีปัญหาเรื่องการร่วมเพศก่อนวัยอันควรการไม่รู้จักป้องกัน การตั้งครรภ์ ทำให้มีบุตรนอกสมรส ขาดผู้รับผิดชอบและความรับผิดชอบต่อเด็กในครรภ์และเด็กที่จะเกิดมาส่งผลตาม มาอีกมากมาย
   ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ศูนย์สร้างเสริมสุขภาพวัยรุ่น คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้คำแนะนำในเรื่องนี้ดังนี้
พศศึกษา คืออะไร ?

   เพศศึกษา มิใช่การสอนเรื่องเพศสัมพันธ์ แต่เป็นการให้ความรู้ และสอนให้รู้จักบทบาทและคุณค่าของความเป็นชายและหญิงในสังคม ส่วน   ครอบครัวศึกษาคือ บทบาทของพ่อแม่ในการสอนเพศศึกษาแก่ลูก
   ตามคำจำกัดความ (ซึ่งค่อนข้างยาวและยาก) เพศศึกษา คือ กระบวนการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย เป็นกรรมวิธีที่จะให้บุคคลได้เรียนรู้ธรรมชาติ ความเป็นจริงของชีวิตและสังคมเพื่อให้บุคคลมีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่ถูกต้องในเรื่องเพศ ตลอดจนสามารถปรับตัวตามพัฒนาการชีวิตได้อย่างเหมาะสม
ทำไมต้องสอน ?
   1.เรื่องเพศเป็นความจำเป็นที่จะต้องได้ทราบภายในขอบเขต เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิตของคนทุกคน โดยเฉพาะความเจริญทางจิตใจนั้น จะควบคู่กันไปกับความเจริญทางเพศ  ความรู้สึกในเรื่องเพศย่อมมีอิทธิพลอย่างมากมายต่อสภาพของจิตใจและเป็นที่ ยอมรับว่าความแตกต่างเกี่ยวกับบุคลิกลักษณะย่อมจะมาจากสาเหตุอันหนึ่งคือ แรงผลักทางเพศ  ดังนั้นการศึกษาเรื่องเพศและเรื่องจิตใจจำเป็นจะต้องดำเนินควบคู่กันตลอดไป
   2.ความลี้ลับหรือการปกปิดในเรื่องเพศอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิด เช่น เคร่งครัดเกินไป โดยเข้าใจว่าเรื่องเพศนั้นเป็นของหยาบโลนไม่ควรพูดถึงเลย หรือในทางตรงกันข้ามก็ละเลยจนเกินไป ไม่มีการควบคุมมารยาททางเพศ เป็นต้น  ทั้งนี้อาจนำไปสู่ลักษณะผิดปกติทางจิตใจได้ นอกจากนั้นการที่เห็นอวัยวะเพศเป็นสิ่งซึ่งผิดแปลกกว่าอวัยวะอื่นของร่างกาย ก็เป็นข้อบกพร่องอย่างสำคัญยิ่งในเรื่องจิตวิทยาโดยทั่วไป
   3.เพศศึกษาจะนำไปสู่ความสมบูรณ์ในทางศีลธรรมและวัฒนธรรมของประชาชน เมื่อทุกคนรู้จักให้เกียรติและการปฏิบัติระหว่างเพศที่ถูกต้อง รู้จักประพฤติตนให้อยู่ในขอบเขตในความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน
   4.ปัจจุบันความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ก้าวหน้าไปอย่างรวด เร็ว  โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการสื่อสาร สามารถพูดคุยติดต่อและทราบข้อมูลต่าง ๆ ได้ทั่วโลกภายในพริบตา จนทำให้โลกของเราแคบลงทุกวัน ดังนั้น ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทั้งที่เหมาะสมและไม่เหมาะสมกับวัฒนธรรมของเรา สามารถแพร่สะพัดไปอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง จนไม่สามารถจะหาวิธีการใดมาสกัดกั้นเอาไว้ได้ ดังนั้น จึงควรให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาที่ถูกต้องแก่เยาวชนของเรา ก่อนที่เขาจะรับรู้จากแหล่งอื่นที่มีลักษณะยั่วยุและเร้าอารมณ์มุ่งไปทาง ด้านการค้าและกำไร  โดยไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อเป็นการเตรียมเยาวชนให้ฉลาด รู้จักการเลือกคิด เลือกตัดสินใจ และเลือกปฏิบัติในทางที่ถูกที่ควร  และเป็นที่ยอมรับของสังคมไทย
ใครควรเป็นผู้สอน ?
   แน่นอนทุกคนที่เกี่ยวข้องกับเด็ก ครูคนแรกของเด็ก คือ พ่อ แม่  ต่อมาคือหมอเด็ก และเมื่อถึงวัยเรียนก็คือครู แท้ที่จริงแล้วเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น เด็กวัยรุ่นเรียนรู้จากเพื่อน และสื่อต่าง ๆ เป็นส่วนใหญ่  ดังนั้นหากเขาได้รับการปลูกฝังให้รู้จักบทบาทและคุณค่าทางเพศที่เหมาะสมมา ตั้งแต่เด็ก  ร่วมกับการมีความนับถือตนเอง  (Self-esteem) และทักษะชีวิต สิ่งเหล่านี้จะเป็นภูมิคุ้มกันให้เขาได้เป็นอย่างดีในช่วงวัยรุ่น ให้เขาสามารถแยกแยะได้ว่าความรู้ สื่อและสิ่งยั่วยุจากภายนอก สิ่งใดเหมาะสมและสิ่งใดไม่เหมาะสมได้ในระดับหนึ่ง
สอนอย่างไร ?

   ขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นผู้สอน ถ้าเป็นพ่อแม่ ก็ให้สอนโดยการเป็นแบบอย่างที่ดี สอนง่าย ๆ โดยสอดแทรกเข้าไปในชีวิตความเป็นอยู่ประจำวัน มิใช่เรียกลูกมานั่งฟังบอกว่าวันนี้จะเลกเชอร์เรื่องเพศศึกษา     สำหรับหมอเด็ก บทบาทในเรื่องนี้อาจจะน้อยเกินไป มักจะเน้นไปในเรื่องการเลี้ยงดูสุขอนามัยชาย หญิง และการป้องกันพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนทางเพศ ในช่วง 5 ปีแรก  ในคลินิกตรวจสุขภาพเด็ก แต่หลังจากนั้นเรื่องเพศศึกษาดูเหมือนจะค่อย ๆ เลือนหายไป  สำหรับครู มีหลักสูตรการสอนในโรงเรียนแต่ก็มักจะขึ้นกับความถนัดของครูว่าจะเน้นหรือ ไม่ โดยทั่วไปจะสอนเฉพาะสรีระทางชีววิทยาว่าชาย หญิง เป็นอย่างไร ยังขาดการสอดแทรกเรื่องของบทบาทคุณค่าและค่านิยมทางเพศต่อสังคมและ วัฒนธรรม   แต่ไม่ว่าจะเป็นใครสอนก็ตาม จะต้องสอนให้เหมาะสมกับพัฒนาการและวัยของเด็ก
สอนอะไร ?
    แนวคิดหลักในการพัฒนาการเรียนรู้เรื่อง เพศศึกษาตามหลักสูตรใหม่ของกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุข มี 7 ด้าน คือ
   1.พัฒนาการทางเพศ (Human sexual development) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจเรื่องเจริญเติบโตและพัฒนาการทางเพศตามวัย  ทั้งทางร่างกาย   
จิตใจ อารมณ์ และสังคม
   2.สุขอนามัยทางเพศ (Sexual health) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจและสามารถดูแลสุขภาพอนามัยทางเพศได้ตามวัย เช่น การดูแลรักษาอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ อนามัยการเจริญพันธุ์ ความเข้าใจต่าง ๆ ในเรื่องเพศ
   3.พฤติกรรมทางเพศ (Sexual behavior) หมายถึง การแสดงออก
ถึงพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสมกับเพศและวัย
   4.สัมพันธภาพ (Interpersonal relation) หมายถึง การสร้างและรักษาความสัมพันธ์กับบุคคลในสังคม การสร้างและรักษาสัมพันธภาพกับเพื่อนเพศเดียวกัน และต่างเพศ การเลือกคู่ การเตรียมตัวก่อนสมรส และการสร้างครอบครัว
   5.ทักษะส่วนบุคคล (Personal and communication skills) หมายถึง ความสามารถในการจัดการสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ เช่น ทักษะการสื่อสาร ทักษะการปฏิเสธ ทักษะการขอความช่วยเหลือ ทักษะการจัดการกับอารมณ์ ทักษะการตัดสินใจและแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับเรื่องเพศ
   6.สังคมและวัฒนธรรม (Society and culture) หมายถึง ค่านิยมในเรื่องเพศที่เหมาะสมสอดคล้องกับสังคมและวัฒนธรรมไทย และการปรับตัวต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยเฉพาะจากสื่อที่ยั่วยุต่างๆ
   7.บทบาททางเพศ (Gender role) หมายถึง การสร้างเอกลักษณ์ทางเพศที่เหมาะสม ความเสมอภาคทางเพศ และบทบาททางเพศที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสังคมอย่างสมดุล.
ข้อมูลจาก: http://www.nsdv.go.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น