3/3/56

การวางแผนครอบครัว - การคุมกำเนิด

การวางแผนครอบครัว คือ การที่สามีภรรยาวางแผนล่วงหน้าว่าจะมีลูกเมื่อใด มีกี่คน โดยวิธีคุมกำเนิดแบบชั่วคราวไว้ในระยะต้องการเว้นระยะลูกให้ห่างและใช้วิธี คุมกำเนิดแบบถาวร การทำหมันเป็นสิ่งแรกที่เราจะต้องคิดและตกลง กับสามี ภรรยา คิดร่วมกันไม่ใช่คนหนึ่งคนใดคิด หากเราไม่วางแผน เมื่อมีลูกแล้ว เราอาจจะไม่ได้ดูแลเขาอย่างเต็มที่ ชีวิตครอบครัวจะมีปัญหา ถ้าเราวางแผนครอบครัวไม่ดี เราอาจจะมีลูกมากเกินไป เราดูแลไม่เต็มที่เราจะทำให้ครอบครัวมีความสุขได้อย่างไร
หากไม่มีลูกหล่ะ ครอบครัวเราจะเป็นอย่างไร และหากมีลูกคนเดียว จะเพียงพอหรือไม่
ลูกเป็นของขวัญ ไม่ใช่เป็นภาระ หรือห่วงผูกคอ
บาง คนมีลูกหัวปี ท้ายปี จนทำให้ไม่มีเวลาในการดูแลเขาได้อย่างดี และสร้างแรงกดดัน ให้กับครอบครัวมากเกินไปและไม่ควรจะปล่อยให้มีลูก โดยที่ เราไม่วางแผน เพราะบางครอบครัว เมื่อไม่วางแผน พอมีลูก อาจจะทำให้รู้สึกขมขื่นเวลาเลี้ยงลูก เพราะสภาพไม่พร้อม เช่น ภรรยาต้องทิ้งหน้าที่การงาน มาเลี้ยงลูก หรือ อายุยังน้อยไม่พร้อมจะเลี้ยงลูก ฯลฯ

แต่ละครอบครัวมีสิ่งที่เอื้อ อำนวยเลี้ยงลูกไม่เท่าเทียมกัน ไม่ควรเปรียบเทียบกันกับครอบ ครัวอื่นความจำกัด อาจจะทำให้เราเลี้ยงดูไม่ได้อย่างดีเพียงพอ เราจึงต้องวางแผน ไม่ใช่เลี้ยง ตามยถากรรม จะสร้างปัญหา ให้เกิดขึ้น ทั้งในครอบครัว สังคม ประเทศชาติ

ความสำคัญของการวางแผนครอบครัว
- ช่วยให้คู่สมรสที่เพิ่งแต่งงาน ได้มีโอกาสปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันก่อนมีลูก
- ครอบครัวมีความเป็นอยู่ดี ลูกมีโอกาสได้รับการศึกษาที่สูง
- คู่สมรสสามารถเว้นระยะการมีลูกหรือจำกัดขนาดของครอบครัวได้
- คู่สมรสมีโอกาสสร้างฐานะการเงินให้มั่นคงได้
- สุขภาพของผู้เป็นมารดาไม่ทรุดโทรม สามารถดูแลครอบครัวได้เต็มที่

ควรจะมีลูกเมื่อไร?
- มีความพร้อมด้านจิตใจ คู่สมรสที่ต้องการมีลูกเท่านั้นจึงควรจะมีลูกได้ คู่สมรสจะต้องเตรียมใจที่จะได้ชื่นชมลูกที่เกิดมา
- สามีภรรยาที่มีการปรับตัวในชีวิตสมรสดีเท่านั้นที่ควรจะมีลูก
- เมื่อสุขภาพร่างกายของมารดาแข็งแรงดี จะเป็นผลทำให้ลูกที่เกิดมา มีสุขภาพกาย และ สุขภาพจิตดี
- เมื่อมีความพร้อมด้านเศรษฐกิจการมีลูกจะเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายในครอบครัวมาก คู่สมรสควรคำนึงถึง
- เมื่อมีเวลาที่จะดูแลลูก การที่ลูกจะเติบโตเป็นเด็กที่มีคุณภาพขึ้นอยู่กับการเอาใจใส่ ให้ความรัก ความอบอุ่น กับลูกของบิดามารดา

การคุมกำเนิด คือการป้องกันการปฏิสนธิ ด้วยวิธีการต่างๆ แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1. การคุมกำเนิดแบบถาวร (Permanent Contraception) เป็นการป้องกันการปฏิสนธิหรือการตั้งครรภ์แบบถาวร ได้แก่
     - การทำหมันชาย (Vasectomy)
     - การทำหมันหญิง (Tcbal Sterilazation)
2. การคุมกำเนิดแบบชั่วคราว (Temporary or Reversible Contraception) เป็นวิธีที่มีผลเฉพาะขณะที่ใช้ เมื่อเลิกใช้แล้ว ก็จะกลับมาตั้งครรภ์ได้ตามปกติ เช่น
     - สำหรับเพศชาย
              การใส่ถุงยางอนามัย
              การหลั่งน้ำอสุจินอกช่องคลอด
     - สำหรับเพศหญิง
              การรับประทานยาคุมกำเนิด
              การฉีดยาคุมกำเนิด
              การใช้ยาครีบสอดช่องคลอด
              การใช้หมวกยางครอบปากช่องคลอด
              การนับระยะปอดภัย
              การใส่ห่วงอนามัย           

หน่วยงานที่ให้บริการวางแผนครอบครัว
- โรงพยาบาลทุกแห่ง
- กองอนามัยครอบครัว กรมอนามัย
- ศูนย์บริการสาธารณสุข
- สถานีอนามัย
- ศูนย์อนามัยแม่และเด็ก
- ศูนย์การแพทย์อื่นๆ

เขียนโดย Webmaster

ข้อมูลจาก : http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=307

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น